logo_hs_nsru
ประวัติการก่อตั้ง สาขาวิชาภูมิศาสตร์

      การพัฒนาของประเทศไทย เข้าสู่โลกยุค "4.0" ตั้งอยู่บนฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ นำไปสู่การพัฒนาที่รวดเร็วขึ้นในทุกระดับของสังคมมนุษย์ มีการผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เปลี่ยนการขับเคลื่อนประเทศ จากภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งการพัฒนาเชิงพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของสังคม เช่น การบริหารจัดการ ป้องกันและรับมือภัยพิบัติ การพัฒนาด้านเกษตรกรรม ชุมชนเมือง สาธารณะสุขล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ทั้งสิน การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศร่วมกับความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์จึงเป็นการตอบสนองนโยบายและนำมาใช้วางแผนในการพัฒนาประเทศ ที่สามารถ ยกระดับระบบทางสังคมและวัฒนธรรม นำความรู้ไปสู่การพัฒนาพื้นที่ สังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
      ดังนั้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงได้จัดตั้งสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ตามคำสั่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ไชยา อู๋ชนะภัย ดำรงตำแหน่งหัวหน้า สาขาวิชา เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านภูมิศาสตร์ในการตอบสนองความต้องการของประเทศสืบมา

วิสัยทัศน์และปรัชญา
ปรัชญา:


     ผลิตบัญฑิตที่มีความรู้และความเชียวชาญการปฏิบัติด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

วิสัยทัศน์:


      เลิศรู้ คู่คุณธรรม นำพัฒนาเชิงพื้นที่

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิศาสตร์
Card image cap
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไชยา อู๋ชนะภัย

ตำแหน่ง:
ประธานหลักสูตรภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

คุณวุฒิ:
วท.ม.(ภูมิศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Card image cap
อาจารย์พัชรี ดินฟ้า

ตำแหน่ง:
หัวหน้าสาขาวิชาภูมิศาสตร์

คุณวุฒิ:
ศศ.ม. (สังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร

Card image cap
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรธนนันท์ ใจสะอาด

ตำแหน่ง:
อาจารย์

คุณวุฒิ:
วท.ม. (การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยนเรศวร

นราธิป เพ่งพิศ
อาจารย์นราธิป เพ่งพิศ

ตำแหน่ง:
อาจารย์, ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

คุณวุฒิ:
วท.ม. (ภูมิสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยบูรพา
วท.บ. (ภูมิสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยบูรพา

ผลงานวิจัยของอาจารย์
หลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วทบ.)
สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

ข้อมูลทั่วไป

1. ชื่อหลักสูตร
      ชื่อภาษาไทย:            วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
      ชื่อภาษาอังกฤษ:       Bachelor of Science Programe in geography and Geoinformatics

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
      ชื่อปริญญาภาษาไทย            วิทยาศาสตรบัณฑิต (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ)
      ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ       Bachelor of Science (geography and Geoinformatics)

3. วิชาเอก
      ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
      จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร
      5.1 หลักสูตร 4 ปี
      5.2 เป็นหลักสูตรวิชาการ
      5.3 หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
      5.4 รับเฉพาะนักศึกษาไทย
      5.5 เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
      5.6 ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลักจบการศึกษา
      6.1 นักวิชาการแผนที่ภาพถ่าย
      6.2 นักภูมิศาสตร์
      6.3 เจ้าหน้าที่ภูมิสารสนเทศ
      6.4 นักวิชาการ นักวิจัย ด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
      6.5 บุคลาการทางการศึกษา ทั้งรัฐบาลและเอกชน
      6.6 นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
      6.7 บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก
โครงการสำรวจความต้องการชองชุมชนเพื่อร่วมทำแผนที่และเว็บไซต์การท่องเที่ยว
ข่าวประชาสัมพันธ์

     วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม อาจารย์สาขาวิชาภูมิศาสตร์และผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ร่วมประชุมหารือกับเทศบาลชุมแสง ในโครงการสำรวจความต้องการชองชุมชนเพื่อร่วมทำแผนที่และเว็บไซต์การท่องเที่ยว โดยทางสาขาภูมิศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเว็บไซต์ท่องเที่ยว
     เยี่ยมชมเว็บไซต์ แผนที่ท่องเที่ยวชุมแสง

จัดทำแนวเขตแผนที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม ชุมชนกระเหรี่ยงบ้านภูเหม็น
ข่าวประชาสัมพันธ์

     อาจารย์สาขาวิชาภูมิศาสตร์ ได้ร่วมขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยรวมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันธรรมชาติพัฒนา ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในการจัดทำแนวเขตแผนที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม ชุมชนกระเหรี่ยงบ้านภูเหม็น อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

โครงการฝึกปฏิบัติการภาคสนาม ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนน จังหวัดเชียงใหม่
ข่าวประชาสัมพันธ์

     วันที่ 18-20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแต่เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบ้ติการภาคสนาม ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิประเทศ ฝึกแปลภาพถ่ายทางอากาศ และเครื่อง GPS

ฝึกปฏิบัติการภาคสนาม ณ หุบป่าตาด จ.อุทัยธานี
ข่าวประชาสัมพันธ์

     17 พฤศจิกายน 2562 ฝึกปฏิบัติการภาคสนาม ณ หุบป่าตาด จ.อุทัยธานี เพื่อศึกษาพืชพรรณธรรมชาติ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ รวมถึงทบทวนการใช้งานเครื่อง GPS ในการเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่

โครงการฝึกปฏิบัติการภาคสนาม ณ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
13-15 กุมภาพันธ์ 2562

     นักศึกษาสาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาร่วมฝึกใช้เครื่อง GPS ในการทำแผนที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติ และสำรวจประเภทของพืชพรรณ ณ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

สาระน่ารู้

รายวิชา: ภูมิศาสตร์กายภาพ
เรื่อง:โลกของเรา
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์นราธิป เพ่งพิศ

     เรียนรู้เกี่ยวกับโลกของเรา ระบบสุริยะจักรวาล ดาวเคราะห์ต่าง ๆ การเกิดฤดูกาล ปรากฏการณ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เช่น น้ำขึ้น น้ำลง น้ำเกิด น้ำตาย สุริยุปราคา จันทรุปราคา

รายวิชา: ภูมิศาสตร์กายภาพ
เรื่อง: เปลือกโลกและหิน
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์นราธิป เพ่งพิศ

     องค์ประกอบของโลก ชั้นเปลือกโลกต่าง ๆ ความหมายของแร่ธาตุ ความแตกต่างระหว่างแร่ธาตุและหิน ประเภทของหิน หินอัคนี หินแปร หินตะกอน

รายวิชา: ภูมิศาสตร์กายภาพ
เรื่อง: ลักษณะของพื้นผิวโลกที่เกิดจากการกระทำ
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์นราธิป เพ่งพิศ

     เรียนรู้ลักษณะของพื้นผิวโลกที่เกิดจากการกระทำ ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของแผ่นเปลือกโลก ที่ราบ ที่ราบสูง ที่ราบภูเขาไฟ ภูเขา ภูเขาไฟ

รายวิชา: สิ่งแวดล้อมและประชากร
เรื่อง: ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์พัชรี ดินฟ้า

     เรียนรู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟป่า อุทกภัย ฝุ่นละอองในอากาศ

รายวิชา: ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
เรื่อง: ทรัพยากรป่าไม้
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์พัชรี ดินฟ้า

      เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของป่าไม้ ประเภทของป่าไม้ (เช่น ป่าผลัดใบ ป่าไม่ผลัดใบ) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ การจัดการทรัพยากรป่าไม้

รายวิชา: สิ่งแวดล้อมและประชากร
เรื่อง: มวลอากาศ แนวปะทะอากาศ และการเกิดพายุ
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์พัชรี ดินฟ้า

      เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของมวลอากาศ ประเภทของมวลอากาศ ลักษณะอากาศ ประเภทของแนวปะทะอากาศ การแสดงผลบนแผนที่อากาศ ความหมายของพายุ แหล่งกำเนิดพายุ และการเกิดพายุ

การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project Based)
เรื่อง: เที่ยวอย่างภูมิ(ศาสตร์)
ผลงาน: นักศึกษาสาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา

      กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนในการเกิดข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ณ วน อุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง จังหวัดนครสวรรค์ ความรู้เกี่ยวกับฟอสซิลล์ พันธ์ไม้ประจำถิ่น และถ้ำหินปูนที่สวยงาม

การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project Based)
เรื่อง: 2554 มหาอุทกภัยล้างแดนมังกร
ผลงาน: นักศึกษาสาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา

      กิจกรรมการเรียนรู้ในและนอกห้องเรียน เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครสวรรค์ การศึกษาปัจจัยและการทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมจังหวัดนครสวรรค์ รวมถึงสัมภาษณ์ความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

ติดต่อเรา

ที่อยู่:
      อาคาร 2 ห้อง 221 สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

เบอร์โทรศัพท์:
      056-219-100 ต่อ 221

สื่อสังคมออนไลน์:
      “logofacebook”

แผนที่